วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

Public Health (สุขภาพจิต)

Motto Public Health

Public
          P..Prevention การป้องกัน
          U..Uphold การส่งเสริมเเละสนับสนุน
          B..Bestead การเอื้ออำนวย
          L..Learning การศึกษา การเรียนรู้
          I..Ideal อุดมการณ์ อุดมคติ
          C..Care การดูเเล

Public ยึดมั่นในอุดมคติ อุดมการณ์ โดยการศึกษาเเละเรียนรู้ที่จะส่งสริมเเละสนับสนุน การป้องกัน เพื่อเอื้ออำนวยในการดูเเลสุขภาพของประชาชน
Health
         H..Heart หัวใจ(ใจรัก)
         E..Efficiency ประสิทธิภาพ
         A..Allegiance การอุทิศตน
         L..Liaise การติดต่อประสานงาน
         T..Treatment การรักษาฟื้นฟู
         H..Hardy อดทน เเข็งเเรง

Health เน้นการรักษาฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน ด้วยการติดต่อประสานงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มีความอดทนอดกลั้นเเละอุทิศตนด้วยใจรัก

Public Health ยึดมั่นในอุดมคติ อุดมการณ์ โดยการศึกษาเเละเรียนรุ้ ในการติดต่อประสานงาน อย่างมีความอดทนเเละอุทิศตนด้วยใจรักที่จะส่งเสริมเเละเอื้ออำนวย ในการป้องกัน ดูเเลรักษา เเละการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จุลชีววิทยา เเละปรสิตวิทยา



1.PROTOZOA>>

2.HELMINT>>

3.BACTERIA>>

4.VIRUS>>

Protozoa


Balantidium  coli



Balantidium  coli เป็น เชื้อปาราสิต ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง( Balantidiasis)  เชื้อ Balantidium coli เป็น โปรโตซัว(protozoa) ชนิดหนึ่ง ใน ธรรมชาติ มีวงจรชีวิต 2 ระยะ คือ ระยะ trophozoite และ ระยะ cyst นับว่าเป็น เชื้อโปรโตซัว ที่มีระยะ trophozoite ในคน ที่ใหญ่ที่สุด เชื้อปาราสิต ชนิดนี้พบ ได้ตามที่ ต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะ ภูมิประเทศ ที่มีอากาศร้อนชื้น ปกติตัว Balantidium coli พบได้ใน หมู, ลิง และหนู เฉพาะใน หมูพบว่า มี การติดเชื้อ ถึงร้อยละ 65 มีรายงาน ทำให้เกิด ท้องร่วง (dysentery) ในคน ค่อนข้างน้อย ส่วนมาก พบใน กลุ่ม ประชากร ที่มี สุขอนามัยไม่สมบูรณ์ ประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ.2468 ถึงพ.ศ. 2471 ที่จังหวัดเชียงใหม่ นายแพทย์ Cort ได้ทำการตรวจ อุจจระของ ผู้ป่วย 8,000 ราย พบเชื้อปาราสิต ชนิดนี้เพียง 14 ราย(0.175%) เฉพาะภายใน 3 เดือน ของปี พ.ศ.2468 พบถึง 12 ราย จากนั้นมา ไม่มีรายงาน การเกิดโรค นี้ในคนอีก จนมาถึงปี พ.ศ.2505 รายงาน ผู้ป่วย 1 ราย มีอาชีพ เลี้ยงหมู ที่ จังหวัด เชียงใหม่ ผู้ป่วยได้รับ การรักษาและ หายจากโรค อย่างไรก็ตาม รายงานการเกิด โรคนี้ในคน พบ ค่อนข้าง น้อย ในปีพ.ศ.2515 ได้มี รายงาน การตรวจศพ 1 ราย ที่ กรุงเทพฯมหานคร ทราบว่า เป็นโรคนี้ ภายหลังจาก ผู้ป่วย เสียชีวิต จากการอักเสบ เป็นแผลในลำไส้ใหญ่ พบลำไส้แตก และเกิดช่องท้องอักเสบ

อนุกรมวิธาน

โปรโตซัวในกลุ่มซิลิเอตกลุ่มนี้อยู่ใน phylum  Ciliophora, จัดอยู่ใน  class  Kinetofragminophorea,  subclass  Vestibuliferia,  order  Trichostomatida,  suder  Trichostomatina


สัณฐานวิทยา

                     

Balantidium  coli  เป็นโปรโตซัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในคน


                      
                      Balantidium  coli – trophozoite


 
   Balantidium  coli - cyst


ระยะ trophozoite ย้อมสีด้วย ircn-hematoxylin รูปร่างรูปไข่ ขนาด 40-200 * 30-120 ไมโครเมตร รอบตัวมีขนสั้นๆ (cilia) อยู่เป็นจำนวนมาก มีช่องปาก (cytostom) เป็นรูปกรวย มองไม่ชัด มี food vacuole และมี contratile vacuole ขนาดใหญ่ 1 อัน นิวเคลียสมี 2 อัน อันใหญ่เรียก macronucleus รูปคล้ายถั่วเห็นได้ชัดติดสีดำ และอันเล็กเรียก micronucleus อยู่ใกล้กับอันใหญ่


สรีรวิทยา

Trophozoites เป็นรูปไข่ปกคลุมด้วยขนสั้นมีความยาวใกล้เคียงกัน มีขนาด 50-200*40-70 ไมโครเมตร ที่ข้างหนึ่งของแกนกลางลำตัวตามยาวมีร่องเข้าไปรูปกรวยคว่ำ ลึกโค้งเล็กน้อย ระยะโทรโฟซอยต์กินอาหารทางร่องปาก  คือปาก (cytostoma )  ปลายด้านหางกลมกว้าง  cytoplasm  มี food vacuoles จำนวนมาก  และมี contractile vacuole หนึ่งหรือ  สองอัน  ที่ปลายด้านหางมีรูเปิดเล็กๆเรียก  cytopyge อยู่ภายในเซลล์เยื่อหุ้มซึ่งใช้ขับถ่ายของเหลือค้าง จาก food vacuoles Balantidium  coli  มี   2 nuclei เห็นชัดเจน ซึ่งประกอบไปด้วย นิวเคลียสใหญ่ (macronucleus) รูปร่างคล้ายถั่ว นิวเคลียสเล็ก (micronucleus) อยู่ในโค้งด้านในของนิวเคลียสใหญ่ มีลักษณะเป็นก้นกลมติสีเข้มมาก เชื่อว่ามีหน้าทีเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวควบคุมเกี่ยวกับการเจริญเติบโต การแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ สำหรับไมโครนิวเคลียสมีขนาดเล็ก มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการแบ่งตัวแบบอาศัยเพศ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรม


วงจรชีวิต



วงจรชีวิตขอBalantidium coli ระยะ cyst เป็นระยะตดิต่อโดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อน เมื่อ cyst เข้าสู่ร่างกายจะเกิดexcystationที่ลําไส้เล็กและได้ trophozoite ออกมาและไปรวมกันอยู่ที่ลําไส้ใหญ่ และแบ่งตัวแบบ binary fission บางครั้งอาจเกิดการ conjugate กันได้ trophozoite มีการ encystations และได้ผลผลิตเป็น cyst  ออกมากับอุจาระ 



การติดเชื้อ

 เชื่อว่า ผู้ป่วยติดเชื้อนี้ ได้โดยทานอาหาร หรือน้ำดื่ม ที่มีระยะ cyst ลงในลำไส้ แต่ การติดเชื้อ ที่ แท้จริงในคน ยังไม่ทราบ แน่ชัด และการติดเชื้อ สู่คนค่อนข้างยาก ภายในลำไส้ใหญ่ trophozoites จะออกจาก cyst มาทำลาย เยื่อบุลำไส้คน โดยเฉพาะบริเวณ cecum ทำให้ลำไส้ เกิดแผล (ulcer) มากมาย แผลเหล่านี้ คล้ายกับแผล ที่เกิดจาก อะมีบา แต่ใหญ่กว่า ตัว trophozoites มีรูปร่างกลมรี ปกคลุมด้วยขน (cilia) โดยรอบ ภายในมี นิวเคลียส ขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายไต เรียกว่า macronucleus และนิวเคลียสขนาดเล็ก เรียกว่า micronucleus อยู่ภายใน ซัยโตพลาสม์ของมัน สำหรับ cyst มีขนาดเล็กกว่า มีรูปร่างกลม หุ้มด้วยผนัง 2 ชั้นใส สามารถ มองเห็น เชื้อปาราสิต เคลื่อนไหว อยู่ภายใน เส้นผ่าศูนย์กลางของ cyst ประมาณ 51-54.6 ไมครอน


พยาธิสภาพ

พบเป็นแผล (ulcer) ที่ลำไส้ใหญ่โดย เฉพาะที่บริเวณ cecum นอกนั้น อาจพบได้ที่ ascending colon, sigmoid colon,rectum และไส้ติ่ง ลักษณะพยาธิสภาพ มองด้วยตาเปล่า แยกยาก จาก amoebic ulcerative colitis ภาพจาก กล้องจุลทรรศน์ พบการตายของเนื้อเยื่อ เป็น หย่อมๆ ตลอดแนวลำไส้ใหญ่ เกิดเป็นแผลที่ เยื่อบุผนังลำไส้ หลายแผล ผนังชั้น submucosa และ muscular พบบวมน้ำทั่วไป อย่างเห็นได้ชัด ตลอดจนพบ เซลล์อักเสบ ชนิดเฉียบพลัน กระจาย ไปทั่วบริเวณ โดยเฉพาะ เซลล์อักเสบชนิด neutrophils เยื่อ fibrin พบค่อนข้างน้อย ในบริเวณที่ อักเสบเหล่านี้ สามารถตรวจ พบเชื้อระยะ trophozoites ของ B. coli เป็นจำนวนมาก ตลอดทุกชั้น ของผนังลำไส้ รวมทั้งที่บริเวณ เยื่อบุผิวและ ภายในท่อน้ำเหลืองข องผนังลำไส้ นอกจาก พบในลำไส้แล้ว ยังอาจพบ ได้ที่ต่อมน้ำเหลือง ข้างเคียงได้ และอาจ เกิดพยาธิสภาพ อื่นๆตามมาเช่น ตกเลือด (hemorrhage) ลำไส้ทะลุ (perforation) และ ช่องท้องอักเสบ (peritonitis)ได้

อาการทางคลินิก

ผู้ป่วยมีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วงมากน้อยเป็นรายๆไป บางราย ถ่ายเป็น เลือด น้ำหนักลด หรือบางคน ไม่มีอาการ แต่เป็น ตัวเก็บเชื้อ (carrier) ผู้ป่วย ส่วนมากมี ประวัติอาชีพ เลี้ยงและขายหมู

การวินิจฉัย

โดยการตรวจพบ พยาธิสภาพ ของแผล และเชื้อปาราสิต ในชิ้นเนื้อพยาธิ หรือตรวจ จากอุจจระพบ เชื้อระยะ trophozoite หรือระยะ cyst

การรักษา  

 Metronidazole 400 – 800 มก. วันละ 3 ครั้ง นาน 10 วัน
  Tetracycline 500 มก. วันละ 4 ครั้ง นาน 10 วัน

การป้องกัน

 โดยดื่มน้ำและกินอาหารที่ปรุงสุกถูกหลักอนามัย เมื่อมีผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับสุกรมีอาการของโรคเกิดขึ้นควรจะนึกถึงโรคนี้ไว้ด้วย นอกจากนั้นควรจะทำให้การสำรวจหาแหล่งที่เป็นรังเก็บโรคในสุกรเพื่อจะได้กำจัดให้หมดไป ในสุกรตรวจพบเชื้อส่วนมากจะไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น



Helmint


พยาธิแส้ม้า  Trichuris trichiura



ตัวเต็มวัยเพศเมียเเละเพศผู้ของพยาธิ  Trichuris trichiura

โรคพยาธิเเส้ม้า คือโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลมที่ชื่อ ทริคูริส ทริคิยูร่า (Trichuris trichiura) หรือที่เรียกกันว่า พยาธิเเส้ม้า ที่เรียกอย่างนี้เพราะตัวพยาธิมีรูปร่างคล้ายเเส้ โดยมีหัวเรียวยาวคล้ายปลายเเส้ เเละส่วนท้ายของลำตัวอ้วนใหญ่คล้ายด้ามเเส้ พยาธิตัวเต็มวัยใช้ส่วนหัวฝังอยู่ในบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนต้น พยาธิตัวผู้มีความยาวประมาณ 30-45 มม. ส่วนพยาธิตัวเมียมีความยาวประมาณ 35-50 มม.

การระบาด

มีการระบาดมากในเขตอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งมีฝนตกชุกตลอดปี ความชื้นสูง เเละมีร่มเงาจากต้นยางพารา ซึ่งเเสงเเดดส่องลงไปไม่ถึง เหมาะกับการเจริญของไข่พยาธิชนิดนี้ เเหล่งระบาดของพยาธิเเส้ม้ามักคล้ายคลึงกับของพยาธิไส้เดือนกลม จึงมักพบพยาธิทั้งสองนี้ระบาดร่วมกันเสมอ

วงจรชีวิติของพยาธแส้ม้า


Life cycle of Trichuris trichura


พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่โดยเฉพาะส่วนซีคั่ม ยาธิตัวเมียจะออกไข่วันละ 3000-7000 ฟอง ไข่จะออกมากับอุจาระ ลงสู่พื้นดิน เมื่ออุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ไข่จะเจริญเติบโตเป็นระยะ 2 เซลล์   และจะกลายเป็นตัวอ่อน ( advanced cleavage stage)   และจะกลายเป็นตัวอ่อนในระยะติดต่อ   ๙งใช้เวลาทั้งหมด 15-30 วัน  หลังจากที่คนรับประทานไข่เข้าไป ไข่จะแตกเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้เล็ก และตัวอ่อนจะเจริญเติบโต   และจะกลายเป็นตัวอ่อนที่ลำไส้ใหญ่   โดยใช้ส่วนหัวและลำตัวฝังที่ผนังลำไส้ใหญ่ ตัวแก่จะมีความยาวประมาณ 4 เซ็นติเมตร ตัวเมียจะเริ่มวางไข่หลังจากรับประทาน 60-70 วัน ตัวพยาธิจะมีอายุประมาณ 1 ปี

การติดต่อ

การติดต่อของพยาธิเเส้ม้าจะคล้ายคลึงกับของพยาธิไส้เดือนกลม คนติดโรคโดยการกินไข่พยาธิระยะติดต่อ ที่ปนเปื้อนเข้าไปกับอาหาร น้ำดื่ม หรือที่ติดมากับเเมลงวันที่ตอมอาหาร ในเด็กเล็กที่ชอบเล่นคลุกคลีกับดิน อาจกินไข่พยาธิที่ติดมากับมือเข้าไปโดยตรง

อาการของโรค

ถ้ามีพยาธิน้อยอาจจะไม่เกิดอาการ แต่ถ้ามีพยาธิมากอาจจะเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน หรืออุจาระเป็นมูกเลือด ซีดอ่อนเพลีย ทั้งนี้เพราะพยาธิจะทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้ และเกิดติดเชื้อแบคทีเรีย

การวินิจฉัย

ตรวจอุจาระไข่และตัวแก่ในอุจาระ
ไข่จะมี plug ที่ขั้วทางปลายทั้งสองข้างมีเปลือกสีน้ำตาล

                           T. trichiura eggT. trichiura egg
                           


การรักษา

ยาที่ให้ผลในการรักษาคือ mebendazole เเละ albendazole เเละอาจให้ยารักษาซ้ำ ถ้ามีการติดเชื้อจำนวนมาก

การป้องกัน

รักษาอนามัยส่วนบุคคลเเละสิ่งเเวดล้อมให้ดี เช่นการล้างมือให้สะอาดก่อนการกินอาหาร กินอาหาร เเละน้ำดื่มที่สะอาด ผักที่ต้องการกินสด ควรล้างดินออกให้สะอาด ไม่ให้มีการปนเปื้อนของไข่พยาธิ สร้างนิสัยการถ่ายอุจจาระลงส้วมให้ถูกสุขลักษณะ










Bacteria


Streptococcus suis


โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis )


โรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus suis เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ในสกุล Streptococcus ในตระกูล Streptococcaeae ย้อมติดสี แกรมม่า รูปกลม ถูกจัดอยู่ใน Lancefield กลุ่ม D, R หรือ S สามารถสร้างแคปซูลและสลายเม็ดเลือดแดง มีการจัดแบ่งเชื้อตามลักษณะของ Capsular Antigen เป็นซีโรไทป์ (Serotype) ต่าง ๆ ถึง 29 Serotypes ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อแต่ละซีโรไทป์จะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสาร Muramidase-released protein (MRP) และ Extracellular protein (EP) ซึ่งพบว่า ซีโรไทป์ที่มีความรุนแรงสูงในการก่อโรคในคนคือ Serotype 2 และ 1 ตามลำดับ
เชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis เป็นเชื้อที่อยู่ในโพรงจมูกและต่อมน้ำลายของหมู เชื้อดังกล่าวพบได้ในหมูทั่วไปจนกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น เมื่อหมูอยู่ในภาวะเครียด เช่น อยู่ในที่แออัด อากาศชื้นหรือหนาวจากฝนตกหนัก ภูมิคุ้มกันของหมูจะลดลง เชื้อดังกล่าวจึงฉวยโอกาสเข้าสู่กระแสเลือดทำให้หมูป่วยหรือตาย ส่วนเชื้อดังกล่าวเข้าสู่คนได้ 2 วิธี คือ เมื่อร่างกายคนมีแผลไปจับต้องหมูและกินเนื้อหมูหรือเลือดสด

อาการโรคติดเชื้อสเตรปโตคอกคัส ซูอิส 

ระยะฟักตัวและอาการในสัตว์

  โดยปกติสุกรที่มีการติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ ส่วนใหญ่เชื้อจะอยู่บริเวณต่อมทอนซิลบริเวณเพดานปาก (palatine tonsil) และเยื่อเมือกบุในโพรงจมูก โดยปกติสุกรที่มีเชื้อไม่แสดงอาการ
        เมื่อสุกรอยู่ในภาวะเครียด เช่น เลี้ยงอย่างแออัดอยู่ สภาพอากาศเย็น และมีระบบการถ่ายเทอากาศไม่ดี ทำให้ร่างกายสัตว์อ่อนแอเชื้อจะฉวยโอกาสจนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการสมองอักเสบ ข้ออักเสบแบบรุนแรง กล้ามเนื้อและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ มีการติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิต กลุ่มสุกรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเป็นสุกรหย่านม สุกรขุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสุกรที่อยู่ในช่วงอายุ 8 - 15 สัปดาห์

ระยะฟักตัวและอาการในคน

         ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 1 - 3 วัน อาการที่พบได้แก่ มีไข้ คลื่นเหียน ปวดศีรษะ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ข้ออักเสบ ม่านตาอักเสบ ผู้ป่วยอาจสูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวก ภายหลังที่หายจากอาการป่วยแล้วอาจจะมีความผิดปกติในการทรงตัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตเนื่องมาจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต


การติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน

               คนสามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับสุกรที่ติดโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร คนทำงานในโรงฆ่าสัตว์ คนชำแหละเนื้อสุกร สัตวบาล และสัตวแพทย์ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก หรือเยื่อบุตา รวมทั้งการบริโภคเนื้อสุกรที่ไม่ผ่านการปรุงสุกก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อนี้ได้


การรักษาในคน

โรคนี้สามารถรักษาให้หายโดยการให้ยาปฏิชีวนะ โดยยาที่รักษาได้ผลได้แก่ แอมพลิซิลิน, เพนนิซิลิน, ซีฟาแลคซิน, คลาวูลานิคแอซิค และซิโปรฟลอกซาซิน โดยธรรมชาติ เชื้อ Streptococcus จะถูกทำลายด้วยความร้อน การกินอาหารแบบปรุงสุกจึงลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคในคน นอกจาก นี้ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มหรือโรงฆ่าสัตว์ ควรปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล สวมรองเท้าบู๊ต หรือ สวมถุงมือระหว่างปฏิบัติงาน จะป้องกันการแพร่เชื้อจากสุกรมาสู่คนได้


การป้องกัน

  เนื่องจากเชื้อนี้มีสุกรเป็นสัตว์พาหะนำโรคซึ่งมักไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้นการเลี้ยงดูสุกรให้อยู่ในสภาวะสุขาภิบาลที่ดี เช่น ไม่เลี้ยงให้อยู่กันอย่างแออัด อากาศในโรงเรือนถ่ายเทได้ดี สามารถป้องกันความหนาวเย็นขณะที่มีอากาศเปลี่ยนแปลงกะทันหันได้ สุกรจะมีร่างกายแข็งแรง เชื้อ Streptococcus suis ที่มีอยู่ในช่องปากและโพรงจมูกก็ไม่สามารถเพิ่มจำนวนและฉวยโอกาสก่อให้เกิดโรคในสุกรได้ นอกจากนั้นแล้วควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกรดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ